การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อหลักสูตร | |
ภาษาไทย: | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินประยุกต์ |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Arts Program in Applied Finance |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ชื่อเต็ม (ไทย): | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเงินประยุกต์) |
ชื่อย่อ (ไทย): | ศศ.ม. (การเงินประยุกต์) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): | Master of Arts (Applied Finance) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ): | M.A. (Applied Finance) |
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในสาขาวิชาชีพทางการเงิน และสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล มีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีฐานคิดและทักษะ ในการจัดทำนโยบาย วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาในระยะยาว โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการเงินของประเทศ
2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ และมีความเอื้ออาทร
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ
4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ สนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาตนเอง และสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้ที่ควรสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรฯ/ผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพในสาขา ได้แก่
(1) นักวิชาการการเงินของภาครัฐ
(2) ผู้บริหารการเงินในภาคเอกชน
(3) นายหน้าค้าหลักทรัพย์
(4) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
(5) ผู้ประเมินมูลค่าทางการเงิน
(6) ผู้บริหารอสังหารอสังหาริมทรัพย์
(7) ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สาขาการเงิน
โครงสร้างหลักสูตร | แผน ก 2 | แผน ข | ||
ก วิชาเอก | ไม่น้อยกว่า | 24 | 30 | หน่วยกิต |
- วิชาเอกบังคับ | 18 | 18 | หน่วยกิต | |
- วิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 4 | 10 | หน่วยกิต |
- สัมมนา | 2 | 2 | หน่วยกิต | |
ข วิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ | ไม่น้อยกว่า | 12 | 6 | หน่วยกิต |
วิชาเอกบังคับ (แผน ก2 18 หน่วยกิต, แผน ข 18 หน่วยกิต)
การบริหารทรัพยากรการเงินของธุรกิจ การบริหารงบดุลของธุรกิจ การบริหารงบกําไรขาดทุนของธุรกิจ การบริหารรายการนอกงบการเงินของธุรกิจ เทคนิค วิธีการ บริหารทรัพยากรการเงินของธุรกิจ กรณีศึกษา
กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในสายวิชาชีพทางการเงิน
การสร้างภาพลักษณ์การให้บริการทางการเงิน เทคนิคการติดต่อสื่อสาร การจัดทําแผนการตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์
กระบวนการจัดการความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงทางการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน การวัดความเสี่ยง การวัดสมรรถภาพเมื่อเทียบกับความเสี่ยง และการประยุกต์ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง
การสร้างแบบจําลองเศรษฐมิติทางการเงิน แบบจําลองตราสารหนี้ แบบจําลองการประเมินมูลค่าตราสารทุน และแบบจําลองการประเมินมูลค่าตราสารอนุพันธ์
การพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากการปริวรรตเงินตรา องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ
วิชาเอกเลือก (แผน ก2 ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต, แผน ข ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต)
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศษสตร์มหภาคต่อการวางแผน และวิเคราะห์ทางการเงิน การเข้าถึงแหล่งข้อมูล และการแปรผล เทคนิคการพยากรณ์เศรษฐกิจ
การควบคุมภายใน การบริหารบัญชีเพื่อการควบคุม การวางแผนบริหารเพื่อการควบคุม การสร้างธรรมภิบาล กลไกธรรมาภิบาล กรณีศึกษา
เทคนิคและเครื่องมือสมัยใหม่สำหรับการวางแผนและการควบคุมทางธุรกิจ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถานะทางการเงิน การวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำประมาณการ การวางแผนบริหารทรัพยากรการเงินแบบองค์รวม กรณีศึกษา
ตราสารอนุพันธ์อัตราดอกเบี้ยและสัญญาเครดิตอนุพันธ์ การจัดสรรเงินลงทุนและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องในการบริหารพอร์ตลงทุน เทคนิคขั้นสูงในการบริหารพอร์ตตราสารหนี้ เทคนิคขั้นสูงในการบริหารพอร์ตตราสารทุน การเงินเชิงพฤติกรรมและการบริหารความมั่งคั่ง
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน หลักทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาด การประเมินมูลค่าหุ้นนอกตลาด พื้นฐานของการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ และการบริหารพอร์ตสินทรัพย์ลงทุนทางเลือก
บล็อกเชน คริปโทเคอร์เรนซี การใช้ฟินเทคในอุตสาหกรรมสินเชื่อ ข้อมูลมหาศาล การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง โครงข่ายประสาทเทียม การให้บริการวางแผนทางการเงินแบบอัตโนมัติ และการซื้อขายด้วยอัลกอริทึ่ม
การบริหารพอร์ตลงทุนให้นักลงทุนรายย่อย ภาษีและการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล การวางแผนส่งมอบมรดก การบริหารสถานะการลงทุนแบบเข้มข้นในสินทรัพย์ประเภทเดียว การบริหารความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนรายย่อย และการบริหารพอร์ตลงทุนให้นักลงทุนสถาบัน
การวางแผนทางการเงินเพื่อกําหนดเป้าหมายการออม ทักษะและองค์ความรู้เพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคล การจัดทําแผนการเกษียณอายุ การวางแผนการลงทุนตามช่วงอายุ
สินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์แท้จริง เทคนิคและวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน การบริหารสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่า จรรยาบรรณวิชาชีพประเมินมูลค่า กรณีศึกษา
ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โอกาสทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศแถบอินโดจีน สภาพแวด ล้อมทางกฏหมายในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย วิชาชีพการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของกระแสเงินสดโครงการอสังหาริมทรัพย์ องค์ประกอบการจัดทำรายงานขอรับการพิจารณาสินเชื่อโครงการ การฝึกจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการอสังหาริมทรัพย์
การจัดหาเงินทุนของโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบกองทุนรวม กองรวมผลประโยชน์ กองรวมกรรมสิทธิ การสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอรรถประโยชน์จากโครงการอสังหาริมทรัพย์
เรื่องเฉพาะทางการเงินในระดับปริญญาโท หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา
ศึกษา ค้นคว้า ทางการเงินระดับปริญญาโท แล้วเรียบเรียงเป็นรายงาน
นิสิตทุกคนเรียนรายวิชาต่อไปนี้โดยไม่นับหน่วยกิต
การประยุกต์ความรู้ทางการเงินสู่การปฏิบัติเพื่อสังคม การจัดทําแผนการเงินส่วนบุคคล การบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณ และการจัดทําแผนธุรกิจทางการเงิน
วัน-เวลาในการเรียนการสอน
นอกวัน-เวลาราชการ เปิดการเรียนการสอน วันเสาร์ เวลา 9.00-20.00 น.
ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี โดยแบ่งเป็นปีละ 2 ภาคการศึกษา ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน-เดือนมีนาคม
คณบดีคณะบริหารธุรกิจ
หัวหน้าภาควิชาบัญชี
หัวหน้าภาควิชาการเงิน
หัวหน้าภาควิชาการตลาด
หัวหน้าภาควิชาการจัดการ
หัวหน้าภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ
ประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ
|
||
ผศ.ดร.พรวรรณ นันทแพศย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ |
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ คูวัฒนเธียรชัย กรรมการดำเนินงานโครงการ |
ผศ.ดร.มรรษภร เชื้อทองฮัว กรรมการและเลขานุการโครงการ |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การสอบภาษาต่างประเทศสำหรับนิสิตปริญญาโท
การสอบ
การเผยแพร่ผลงาน
คู่มือการจัดทำเอกสารงานวิจัย
คู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553
เอกสาร | รายละเอียด |
---|---|
ปก | |
คำนำ | |
สารบัญ | |
บทที่ 1 คำแนะนำและข้อปฏิบัติ หน้า 1 – 10 | |
บทที่ 2 องค์ประกอบของวิทยานิพนธ์ หน้า 11 – 17 | |
บทที่ 3 การอ้างอิง หน้า 18 – 35 | |
บทที่ 4 การเขียนรายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง หน้า 36 – 64 | |
บทที่ 5 การพิมพ์วิทยานิพนธ์ หน้า 65 – 71 | |
ภาคผนวก หน้า72 – 123 | |
รวมคู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553 |