Sorry!Page Not Found

The page you are looking for might have been removed, had its name changed, or is temporarily unavailable.

Please try using our search box below to look for information on the internet.

รายละเอียดหลักสูตร
 ชื่อหลักสูตร  
 ภาษาไทย:  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการเงินประยุกต์
 ภาษาอังกฤษ:  Master of Arts Program in Applied Finance
 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 ชื่อเต็ม (ไทย):  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเงินประยุกต์)
 ชื่อย่อ (ไทย):  ศศ.ม. (การเงินประยุกต์)
 ชื่อเต็ม (อังกฤษ):  Master of Arts (Applied Finance)
 ชื่อย่อ (อังกฤษ):  M.A. (Applied Finance)

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ในสาขาวิชาชีพทางการเงิน และสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล มีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีฐานคิดและทักษะ ในการจัดทำนโยบาย วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาในระยะยาว โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการเงินของประเทศ

2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ และมีความเอื้ออาทร

3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ

4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ สนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาตนเอง และสังคมได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่ควรสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรฯ/ผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพในสาขา ได้แก่
(1) นักวิชาการการเงินของภาครัฐ
(2) ผู้บริหารการเงินในภาคเอกชน
(3) นายหน้าค้าหลักทรัพย์
(4) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
(5) ผู้ประเมินมูลค่าทางการเงิน

(6) ผู้บริหารอสังหารอสังหาริมทรัพย์
(7) ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สาขาการเงิน

โครงสร้างหลักสูตร
 โครงสร้างหลักสูตร   แผน ก 2  แผน ข
 ก วิชาเอก  ไม่น้อยกว่า  24  30  หน่วยกิต
 - วิชาเอกบังคับ  18  18  หน่วยกิต
 - วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า  4  10  หน่วยกิต
 - สัมมนา  2  2   หน่วยกิต
 ข วิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ  ไม่น้อยกว่า  12  6  หน่วยกิต

 

รายวิชาที่เปิดสอน

วิชาเอกบังคับ (แผน ก2 18 หน่วยกิต, แผน ข 18 หน่วยกิต)

การบริหารทรัพยากรการเงินของธุรกิจ การบริหารงบดุลของธุรกิจ การบริหารงบกําไรขาดทุนของธุรกิจ การบริหารรายการนอกงบการเงินของธุรกิจ เทคนิค วิธีการ บริหารทรัพยากรการเงินของธุรกิจ กรณีศึกษา

กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในสายวิชาชีพทางการเงิน

การสร้างภาพลักษณ์การให้บริการทางการเงิน เทคนิคการติดต่อสื่อสาร การจัดทําแผนการตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์

กระบวนการจัดการความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงทางการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน การวัดความเสี่ยง การวัดสมรรถภาพเมื่อเทียบกับความเสี่ยง และการประยุกต์ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง

การสร้างแบบจําลองเศรษฐมิติทางการเงิน แบบจําลองตราสารหนี้ แบบจําลองการประเมินมูลค่าตราสารทุน และแบบจําลองการประเมินมูลค่าตราสารอนุพันธ์

การพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากการปริวรรตเงินตรา องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ

 

วิชาเอกเลือก (แผน ก2 ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต, แผน ข ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต)

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศษสตร์มหภาคต่อการวางแผน และวิเคราะห์ทางการเงิน การเข้าถึงแหล่งข้อมูล และการแปรผล เทคนิคการพยากรณ์เศรษฐกิจ

การควบคุมภายใน การบริหารบัญชีเพื่อการควบคุม การวางแผนบริหารเพื่อการควบคุม การสร้างธรรมภิบาล กลไกธรรมาภิบาล กรณีศึกษา

เทคนิคและเครื่องมือสมัยใหม่สำหรับการวางแผนและการควบคุมทางธุรกิจ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถานะทางการเงิน การวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำประมาณการ การวางแผนบริหารทรัพยากรการเงินแบบองค์รวม กรณีศึกษา

ตราสารอนุพันธ์อัตราดอกเบี้ยและสัญญาเครดิตอนุพันธ์ การจัดสรรเงินลงทุนและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องในการบริหารพอร์ตลงทุน เทคนิคขั้นสูงในการบริหารพอร์ตตราสารหนี้ เทคนิคขั้นสูงในการบริหารพอร์ตตราสารทุน การเงินเชิงพฤติกรรมและการบริหารความมั่งคั่ง

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน หลักทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาด การประเมินมูลค่าหุ้นนอกตลาด พื้นฐานของการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ และการบริหารพอร์ตสินทรัพย์ลงทุนทางเลือก

บล็อกเชน คริปโทเคอร์เรนซี การใช้ฟินเทคในอุตสาหกรรมสินเชื่อ ข้อมูลมหาศาล การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง โครงข่ายประสาทเทียม การให้บริการวางแผนทางการเงินแบบอัตโนมัติ และการซื้อขายด้วยอัลกอริทึ่ม

การบริหารพอร์ตลงทุนให้นักลงทุนรายย่อย ภาษีและการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล การวางแผนส่งมอบมรดก การบริหารสถานะการลงทุนแบบเข้มข้นในสินทรัพย์ประเภทเดียว การบริหารความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนรายย่อย และการบริหารพอร์ตลงทุนให้นักลงทุนสถาบัน

การวางแผนทางการเงินเพื่อกําหนดเป้าหมายการออม ทักษะและองค์ความรู้เพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคล การจัดทําแผนการเกษียณอายุ การวางแผนการลงทุนตามช่วงอายุ

สินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์แท้จริง เทคนิคและวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน การบริหารสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่า จรรยาบรรณวิชาชีพประเมินมูลค่า กรณีศึกษา

ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โอกาสทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศแถบอินโดจีน สภาพแวด ล้อมทางกฏหมายในการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย วิชาชีพการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของกระแสเงินสดโครงการอสังหาริมทรัพย์ องค์ประกอบการจัดทำรายงานขอรับการพิจารณาสินเชื่อโครงการ การฝึกจัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการอสังหาริมทรัพย์

การจัดหาเงินทุนของโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบกองทุนรวม กองรวมผลประโยชน์ กองรวมกรรมสิทธิ การสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอรรถประโยชน์จากโครงการอสังหาริมทรัพย์

เรื่องเฉพาะทางการเงินในระดับปริญญาโท หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา

ศึกษา ค้นคว้า ทางการเงินระดับปริญญาโท แล้วเรียบเรียงเป็นรายงาน

 

นิสิตทุกคนเรียนรายวิชาต่อไปนี้โดยไม่นับหน่วยกิต

การประยุกต์ความรู้ทางการเงินสู่การปฏิบัติเพื่อสังคม การจัดทําแผนการเงินส่วนบุคคล การบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณ และการจัดทําแผนธุรกิจทางการเงิน

 

วัน-เวลาในการเรียนการสอน

วัน-เวลาในการเรียนการสอน
นอกวัน-เวลาราชการ เปิดการเรียนการสอน วันเสาร์ เวลา 9.00-20.00 น.
ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี โดยแบ่งเป็นปีละ 2 ภาคการศึกษา ดังนี้

      ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
      ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน-เดือนมีนาคม

วิธีการเรียนการสอน
  • - วิธีการเรียนการสอน มีทั้งการบรรยาย อภิปราย แบ่งกลุ่มค้นคว้า จัดทำรายงานและสอนด้วยกรณีศึกษา (Case Study)
    - มีการบรรยายพิเศษเสริมจากวิทยากรรับเชิญ (Guest Speaker) ในหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัย
    - คณาจารย์ผู้สอน
  •         - อาจารย์ประจำ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  •         - อาจารย์พิเศษ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ทางด้านบริหารธุรกิจระดับสูงขององค์การชั้นนำทั้งภาครัฐ และเอกชน
คณะกรรมการบริหารโครงการ

คณบดีคณะบริหารธุรกิจ
หัวหน้าภาควิชาบัญชี
หัวหน้าภาควิชาการเงิน
หัวหน้าภาควิชาการตลาด
หัวหน้าภาควิชาการจัดการ
หัวหน้าภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ
ประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
   4x  1
ผศ.ดร.พรวรรณ นันทแพศย์
ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ
 รศ.ดร.ภัทรกิตติ์ เนตินิยม
กรรมการ
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ คูวัฒนเธียรชัย
กรรมการและเลขานุการ
Download ไฟล์หลักสูตร
 หลักสูตร  ปีหลักสูตร พ.ศ.  ไฟล์ pdf
 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการเงินประยุกต์ 2560
 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการเงินประยุกต์ 2565
คู่มือนิสิต

คู่มือนิสิต


บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การสอบภาษาต่างประเทศสำหรับนิสิตปริญญาโท


การสอบ


คู่มือการจัดทำเอกสารงานวิจัย 

   คู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553 

การพิมพ์วิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม

เอกสารรายละเอียด
ปก
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 คำแนะนำและข้อปฏิบัติ หน้า 1 – 10
บทที่ 2 องค์ประกอบของวิทยานิพนธ์ หน้า 11 – 17
บทที่ 3 การอ้างอิง หน้า 18 – 35
บทที่ 4 การเขียนรายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง หน้า 36 – 64
บทที่ 5 การพิมพ์วิทยานิพนธ์ หน้า 65 – 71
ภาคผนวก หน้า72 – 123
รวมคู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553

  

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร ทั้ง แผน ก 2 และ แผน ข

 ภาคการศึกษา  ประมาณเดือน  จำนวน (บาท)
 ปีการศึกษา ที่ 1 ภาคต้น  มิถุนายน  90,000  
 ปีการศึกษา ที่ 1 ภาคปลาย พฤศจิกายน  90,000  
 ปีการศึกษา ที่ 2 ภาคต้น  มิถุนายน  80,000  
 ปีการศึกษา ที่ 2 ภาคปลาย พฤศจิกายน  70,000  
  รวมตลอดหลักสูตร (2 ปี)  330,000  

                                 *** วัน-เวลาเรียน ในการเรียนการสอน (ภาคการศึกษาที่1 เดือน มิถุนายน - ตุลาคม   ภาคการศึกษาที่2  เดือนพฤศจิกายน - มีนาคม) ***

                                                                                         ข้อมูลรายละเอียดสาขาวิชา รับสมัครออนไลน์                                                                                                    

                       หากมีคำถามเกี่ยวกับการกรอกใบสมัครสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ตั้งแต่เวลา 09:00 - 16:30น.  ☎️ โทรศัพท์ : 081-834-3939 หรือ @Line 0818343939

                                                                                           

               
หมายเหตุ
- รวมค่ากิจกรรมต่างจังหวัดประมาณ 2 ทริปและเอกสารประกอบการเรียนการสอน
- ไม่รวมค่าศึกษาดูงาน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
2. ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. กรณีที่มีผลสอบภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ สามารถนำมาเทียบโอนภาษาอังกฤษได้กับทางบัณฑิตวิทยาลัย ต่อเมื่อได้รับรหัสนักศึกษาแล้ว

วิธีการสมัครสอบ

1. กรอกข้อมูลใบสมัครได้ที่ www.mof.bus.ku.ac.th หรือติดต่อรับใบสมัครได้ที่ โครงการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินประยุกต์ (ภาคพิเศษ) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป
2. หลักฐานการสมัคร ตามรายละเอียดในใบสมัคร
3. ค่าใช้จ่ายในการสมัครท่านละ 1,000.- บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

การสอบ

สอบสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

การคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาจะพิจารณาจากหนังสือแสดงเป้าหมายการศึกษา (Statement of Purpose) และเอกสารข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ผลการศึกษาในระดับปริญญาตรี และหนังสือรับรองประสบการณ์ และสัมภาษณ์ (ไม่มีสอบข้อเขียน)

โดยการคัดเลือกผู้สมัครจะพิจารณาจากประวัติการศึกษา ความรู้ ความตั้งใจ และความสามารถ ตลอดจนศักยภาพของการนำผลการศึกษาและการนำผลความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์

สถานที่เรียนและสอบสัมภาษณ์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน

ประกาศรับสมัครนิสิต ประจำปี 2567

ข้อมูลรายละเอียดสาขาวิชา การรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2567

สาขาวิชา 

การเงินประยุกต์ 

รหัสสาขาวิชา X N 6 7 

 

 

 

โครงการ 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินประยุกต์ (ภาคพิเศษ) 

คณะ 

บริหารธุรกิจ 

ชื่อปริญญา 

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเงินประยุกต์) 

จำนวนที่จะรับ 

ภาคต้น 45 คน 

แบบ/แผน 

- แผน ข  45 คน

 

 

 

คุณสมบัติของผู้สมัครและรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะสาขาวิชา 

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา 
2. ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 

กำหนดการรับสมัคร 

ลำดับขั้นตอน 
วัน เวลา สถานที่ 
1. รับสมัคร 
20  มกราคม 2567  19  เมษายน  2567
โดยสมัครผ่านเว็ปไซต์ online   https://www.grad.ku.ac.th/
2. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก 
 9  พฤษภาคม  2567 
3. สัมภาษณ์ 
16  24  พฤษภาคม  2567 
โครงการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 
สาขาวิชาการเงินประยุกต์ (ภาคพิเศษ) 
จะแจ้ง วัน เวลา และ สถานที่ ให้ผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ 
ทาง Email/ทางโทรศัพท์มือถือที่ผู้สมัครระบุไว้ 
(จ่ายเงินค่าสมัคร 1,000 บาท ในวันสัมภาษณ์) 
4. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 
มิถุนายน  2567
5. ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา 
TBA (to be advised) 

 

เอกสารและหลักฐานประกอบการสมัคร 

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
2.สำเนาปริญญาบัตร 
3.สำเนา Transcript (ฉบับมีวันจบการศึกษาชัดเจน) 
4.รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป 
5.ชำระค่าสมัคร 1,000 บาท (ชำระเงินวันสอบสัมภาษณ์เท่านั้น) 

ข้อมูลเพิ่มเติม 

เปิดภาคเรียน: ประมาณเดือนมิถุนายน 2567 
ระยะเวลาการศึกษา: ภาคต้น เดือนมิถุนายน พฤศจิกายน 2567 
วัน เวลาเรียน: วันเสาร์ เวลา 09.00 20.00 น. 
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร: แผน จำนวน 330,000 บาท 

 

หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อ 

โทร.02-9428777 ต่อ 1933 – 1936 
มือถือ 081-8343939 
E-mail: fbusavr@ku.ac.th 
แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเงิน

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขอความอนุเคราะห์พิจารณาแผนพร้อมหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเงิน

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
history 2 1
หนังสือรับรองการพิจารณากลั่นกรอง มคอ.02
history 2 2

แต่งตั้งคณะทำงานจัดตั้งโครงการปริญญาโทการเงิน (ภาคพิเศษ)

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555
history 3

ขออนุมัติการดำเนินการรับนิสิตหลักสูตร ศศม. สาขาวิชาการเงินประยุกต์เป็นการเฉพาะ

วันที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2555
history 4

รายงานผลการจัดทำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเงินประยุกต์

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555
history 5

ผลการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (การรับรองคุณวุฒิของ ก.พ.)

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
history 6

ปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2560
history 7

ปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2565

พ.ศ. 2565
history8